พื้นที่ปลอดภัย ความมั่นคงทางใจ : กุญแจสำคัญของ -> TEAM
ทำไมคนนั้นเค้าเก่งจังเลย ทำไมคนนี้เค้าถึงก้าวหน้าแบบนี้นะ ทำไมคนนี้ในทีมทำอะไรก็ได้รับคำชม
“ทำไมเราไม่เท่าเค้าเลย”
ในสังคมปัจจุบันที่เราเห็นและรับรู้หลายๆ สิ่งได้ผ่านเร็วแค่กระพริบตา ไม่ว่าจะผ่านทาง Social Media หรือ ผ่านจากปาก ผ่านจากการเห็นคนใกล้ชิด และหลายๆ ครั้งเราจะเริ่มรู้สึกเอาสิ่งที่เราเห็นว่าคนอื่นเป็นอย่างนั้น คนอื่นได้แบบนั้น มาเปรียบเทียบกับตัวเรา โดยเราคิดเอาว่าเพื่อ “พัฒนาตัวเอง”
ในสังคมการทำงานเป็นทีมก็เหมือนกัน หลายครั้งที่เรากระตุ้นให้คนในทีมพัฒนาตัวเองให้เรียนรู้ ให้มีความรู้ความเข้าใจ ทันกัน ทัดเทียมกัน เพื่อที่จะให้ คุณภาพ ของทีมก้าวหน้าขึ้น
ในปี 2015 Google publish ข้อมูลที่ได้ทำการศึกษามากว่า 2 ปี เกี่ยวกับ Factor ของการสร้างสุดยอดทีม และ Google พบว่าทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูง มีองค์ประกอบหนึ่งที่คล้ายกันเลย คือ เค้ามี “พื้นที่ปลอดภัย” ที่ให้ “ความมั่นคงทางใจ”
“ความมั่นคงทางใจ” เชื่อมโยงไปกับความคิดสร้างสรรค์ แล้วมันเกี่ยวกันยังไงหนะหรือ ก็เพราะว่า ความคิดสร้างสรรค์ มีจุดเริ่มต้นมาจาก การกล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ แล้วลองคิดดูว่าคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมของทีมที่ พูดอะไรก็ผิด พูดอะไรก็โดนต่อว่า มีคนคอยจ้องจับผิดตลอดเวลา ทำดีเท่าตัว ทำอะไรผิดโดนทับถม จนเราไม่สามารถเชื่อใจ ไม่สามารถมั่นใจในคนในทีม และมันส่งผลกระทบต่อตัวเองจนไม่สามารถมั่นใจในตัวเอง สมองเราของก็จะทำการปกป้องตัวเรา โดยไม่ยอดให้เราไปเจอสถานการณ์นั้น ซึ่งง่ายสุดก็คือ อย่าไปคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หรือ อย่างไปทำอะไรเลยอยู่เฉยๆ ดีกว่า นี่ไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย ที่เราจะคิด หรือ ทำอะไร โดยหลักการแล้ว สมองจะปรับการทำงานเข้าสู่โหมดเอาตัวรอด โดยสมองส่วนอมิกดาลา (Amygdala) จะกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบแบบสู้หรือหนี (Fight-or-flight reaction) ทำก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง (Act first, think later) สมองจะปิดทำการในส่วนของมุมมองและเหตุผลการคิดวิเคราะห์
แล้ว “พื้นที่ปลอดภัย” มันเป็นอย่างไรหละ
พื้นที่ปลอดภัย หรือ safe zone เป็นพื้นที่ที่คนอยู่เป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ แสดงความแตกต่างได้ ไม่ต้องกลัวถูกตัดสินผิด-ถูก ดี-ไม่ดี เป็นพื้นที่ท้าทาย ปะทะได้ สั่นสะเทือนได้ แต่จะปลอดภัย และได้เติบโต ไม่ตัดสินคนอื่น (ไม่ทำลายพื้นที่ปลอดภัยของอื่น) เราจะเชื่อก็ได้ไม่เชื่อก็ได้กับสิ่งที่เค้าทำ เพียงแต่เราไม่ตัดสินเค้าในทันที”
ใน “พื้นที่ปลอดภัย” สมาชิกในทีมสามารถเชื่อแน่ว่าเขาจะไม่ถูกลงโทษเมื่อลองทำสิ่งใหม่ ๆ แล้วผิดพลาด การศึกษาในเรื่องนี้ทำให้พบว่า พื้นที่ปลอดภัยช่วยให้เกิดความกล้าเสี่ยงอย่างพอควร, เกิดการพูดจากใจ, เกิดความสร้างสรรค์ เป็นลักษณะพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จร่วมกันเป็นทีม เมื่อมี “พื้นที่ปลอดภัย” เช่นนี้ ความไว้วางใจ ความใส่ใจใคร่รู้ ความมั่นใจ และ การมีแรงบันดาลใจ สามารถช่วยให้ทีมเกิดความยืดหยุ่น เกิดมีแรงจูงใจจากภายในตนเอง เกิดความกล้า และรู้สึกปลอดภัยในการพูด หรือทำอะไร เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการกล้าที่จะลองทำอะไรเพื่อพัฒนาตัวเอง แถมยังมีของแถมทำให้ทีมมีอารมณ์ขัน สร้างบรรยากาศโดยรวมที่ดีให้กับทีม
“พื้นที่ปลอดภัย” ยังรวมถึงการที่หัวหน้าทีม หรือ หัวหน้าองค์กรณ์ เปิดโอกาสให้ผิดพลากได้ด้วย เมื่อที่ทำงานมีความท้าทายพอเหมาะ ไม่ถึงกับอันตราย ช่วยสร้างความไว้วางใจ และนี่ก็คือปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของทีม “แม้นในจังหวะที่ทีมต้องการประสิทธิภาพ และ ความรวมเร็ว ความสำเร็จของทีมเราขึ้นอยู่กับความสามารถในการกล้าเสี่ยง และพร้อมผิดพลากได้ต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน”
Google มี Key 5 ข้อที่จะทำให้ทีมเป็นทีมที่ดีได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “พื้นที่ปลอดภัย”
ทำอย่างไรจึงจะสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” ในทีมได้
1. ร่วมมือกันไม่ใช่แข่งขัน (Approach conflict as a collaborator, not an adversary.)
ให้ทีมมีเป้าหมายร่วมกัน เป็นเป้าหมายเดียวกัน เช่น ทำ Product ให้ success มีเค้าเข้าใช้ และ มีความสุขกับการใช้ ไม่ใช่ว่าทีมเราทำ Product เดียวกัน แต่กลายเป็นว่าแต่ละคนในทีมกลับมีเป้าหมายต่างกัน
มนุษย์เกลียดการแพ้ ยิ่งมีการแข่งขันกันในทีมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกิดความขัดแย้ง ชิงดีชิงเด่น เกิดการจ้องจับผิด การไม่สนับสนุนกัน ทำร้ายกัน เพราะฉะนั้น เราต้องสร้างให้ทีมมีเป้าหมายร่วมกัน ให้เค้า ชนะไปด้วยกัน ช่วยกันให้ไปถึงจุดหมาย
2. พูดคุยกันอย่างเพื่อนมนุษย์ (Speak human to human.)
มนุษย์ทุกคนสื่อสารบางอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่าง เมื่อเรารับรู้ถึงความต้องการของกันและกันอย่างที่ลึกซึ้งขึ้น จะพบว่าความต้องการเหล่านั้นเป็นความต้องการสากลที่ทุกคนต้องการเช่นเดียวกัน เช่น ความรัก ความสุข เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความไว้วางใจ
- คนคนนี้ มีความเชื่อ, มีมุมมอง และ มีความคิดเห็น …ซึ่งฉันก็มี
- คนคนนี้ มีความหวัง, มีความกังวล และ มีความเปราะบาง …ซึ่งฉันก็มี
- คนคนนี้ มีเพื่อน, มีครอบครัว และอาจมีลูกที่รักเขา …ซึ่งฉันก็มี
- คนคนนี้ ต้องการความเคารพ, การชื่นชม และ การมีความสามารถ …ซึ่งฉันก็ต้องการ
- คนคนนี้ ต้องการความสันติ, ความเบิกบานใจ และ ความสุข …ซึ่งฉันก็ต้องการ
หากมีการพูดคุยและคิดเห็นไม่ตรงกัน อยากให้ลองอ่านบทความนี้เสริมครับ
3. เตรียมพร้อมตอบรับและเปิดรับ (Anticipate reactions and plan countermoves.)
การเตรียมพร้อมในการพูดคุยการเตรียมทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้รับจะตอบรับ จะช่วยทำให้เราเข้าใจการสื่อสารมากขึ้นครับ
การสื่อสารมีองค์ประกอบอยู่ไม่กี่อย่างครับ
- ผู้ส่งสาร
- ผู้รับสาร
- สาร
- เจตนาที่ต้องการสื่อสาร
ซึ่งถ้าการส่งสารที่ต้องการสื่อสารเป็นไปอย่างภาพฝัน แปลว่าผู้ส่งสารจะสามารถส่งสารไปได้ครบถ้วนซึ่งรวมถึงส่งสารไปพร้อมเจตนาที่แท้จริงไปได้ถึงผู้รับสารแบบครบ 100%
แต่ในความเป็นจริงมันไม่มีทางเป็นเช่นนั้น เพราะเรามันมองเห็นกันที่พฤติกรรม โลกมโนที่เราเห็นด้วยตา ตัดสินจากมุมมองของเราเอง เห็นแค่โลกภายนอกแค่ภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น แต่จริงๆแล้วมันมีสิ่งที่อยู่ภายในภูเขาน้ำแข็ง ในโลกภายในอีกมากมาย
4. สนใจใคร่รู้ ไม่ด่วนตัดสิน (Replace blame with curiosity.)
ทุกไอเดียเป็น ไอเดียที่ดี ทุกความคิดเห็น เป็นสิ่งที่ดี
จอห์น กอทแมน (John Gottman, University of Washington) เปิดเผยผ่านงานวิจัยว่า การต่อว่าและวิพากษ์วิจารณ์นั้นทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ผู้ที่ต่อว่าคนอื่นจะถูกมองว่าเป็นคนดุร้าย ทีมงานจะเข้าโหมดชีวิตแบบปกป้องตนเอง (Defensiveness) จนในที่สุดก็จะละเลยจากหน้าที่การงานไป (Disengagement) ทางเลือกอื่นแทนที่การต่อว่า คือ การสนใจใคร่รู้ (Curiosity) ถ้าเราเชื่อไปแล้วว่าเราล่วงรู้ความคิดของคนอื่น นั่นหมายถึงว่า เราไม่พร้อมที่จะเริ่มต้นสนทนากับเขา สิ่งที่ควรทำก็คือ การสนใจใครรู้ และระลึกรู้อยู่เสมอว่าจริง ๆ แล้ว เรายังไม่รู้ข้อเท็จจริงทั้งหมด ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- กล่าวถึงพฤติกรรมหรือผลที่ได้จากการสังเกตโดยใช้ภาษาที่เป็นกลาง
- กล่าวเชื้อเชิญให้ร่วมมือกันสำรวจข้อเท็จจริงต่าง ๆ
- คนที่อยู่ใกล้กับปัญหามักเป็นคนที่ถือกุญแจแห่งทางออก เพียงแต่เขาอาจไม่รู้ตัว เราอาจถามเขาว่า “อะไรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับที่นี่” หรือ “ที่นี่ควรจะเป็นอย่างไรในความคิดคุณ” หรือ “ฉันสามารถสนับสนุนคุณได้อย่างไร”
5. ขอข้อเสนอแนะเมื่อจบงาน (Ask for feedback on delivery.)
Feedback is a Gift
การคุยสอบถามถึงข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากคนที่เราคุยด้วย คนที่ได้รับสาร คนที่ได้รับของของเราไป และเราได้รับ ข้อเสนอแนะความคิดเห็นมา มันคือของขวัญนะครับ เพราะมันจะช่วยให้เรารู้ว่ามีอะไรที่เราขาดไป มีอะไรที่เราสามารถทำให้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัว เรื่องการงาน หรือเรื่องของProduct ดังนั้นการได้รับ Feedback ทุกครั้งจะส่งเสริมให้ทีม พัฒนาขึ้นได้อย่างมาก
Feedback เช่น
- อะไรบ้างที่เวิร์ค และ อะไรบ้างที่ไม่เวิร์ค
- คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยินข้อความนี้จากฉัน
- ในครั้งต่อไป ฉันจะนำเสนอให้ดีขึ้นได้อย่างไร
6. คอยเช็คเสมอว่ายังปลอดภัยไหมนะ (Measure psychological safety.)
ถามทีมงานเป็นระยะ ๆ ว่าตอนนี้พื้นที่ปลอดภัยของเราเป็นอย่างไรบ้างแล้ว เราจะเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างไรได้อีก นอกจากนี้ อาจหมั่นถามว่า เรามีความมั่นใจแค่ไหน ว่าเราจะไม่แก้ตัวหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อได้รับข้อเสนอแนะ สิ่งนี้สะท้อนถึงระดับของพื้นที่ปลอดภัยได้เช่นกัน
เมื่อเราสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับทีมงานได้แล้ว สิ่งที่เราสามารถคาดหวังได้ ก็คือความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรจะเพิ่มขึ้น ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาที่ท้าทายจะเพิ่มขึ้น โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาจะเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพของทีมก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเป็นเงาตามตัว
Credit: https://www.impraise.com/blog/what-is-psychological-safety-and-why-is-it-the-key-to-great-teamwork
Credit: https://www.runwisdom.com/2020/01/psychological-safety-for-collaboration.html